กลายเป็นเหตุวุ่นวายขึ้นเมื่อแฟน Squid Game ใน ปารีส ออกหมัดซัดกัน ขณะต่อแถวรอเล่นเกมแงะขนมน้ำตาลแบบในเรื่อง เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม สำนักข่าว เมโทร รายงานว่าเกิดเหตุทะเลาะวิวาทหน้าร้านขายของของซีรีย์ Squid Game ซีรีย์เกาหลียอดนิยมบน Netflix ที่ตั้งอยู่ในกรุงปารีส เมืองหลวงฝรั่งเศส ที่เปิดให้ผู้สนใจสามารถเล่นเกมแงะขนมน้ำตาลแบบในซีรีย์ได้โดยไม่ต้องเสี่ยงตายเหมือนกับในโชว์
โดยจากคลิปจะเห็นได้ว่าแฟนซีรีย์ได้ก่อเหตุชกต่อยกับแฟนคนอื่นๆ และจากคลิปจะเห็นได้ว่ามีประชาชนใช้หมวกกันน็อกฟาดไปยังแฟนคนอื่นๆ
ทั้งนี้ยังไม่มีการเปิดเผยแน่ชัดถึงเหตุความรุนแรงครั้งนี้ อย่างไรก็ตามสำนักข่าวเมโทรได้ระบุว่า มีจำนวนผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก และทำให้ต้องใช้เวลานานกว่าจะได้ร่วมกิจกรรม ซึ่งอาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดเหตุทะเลาะวิวาทครั้งนี้ได้
กลายเป็นคลิปไวรัลในอินเตอร์เน็ตหลัง เครื่องบินติดสะพาน ในประเทศอินเดีย ด้านสายการบินเผยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุประหลาดในครั้งนี้ เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม สำนักข่าว BBC รายงานว่า เกิดเหตุเครื่องบินติดอยู่ใต้สะพานในกรุงเดลี เมืองหลวงประเทศอินเดีย โดยจากคลิปจะเห็นได้ว่าเครื่องบินลำดังกล่าวมีโลโก้ของแอร์อินเดียติดอยู่ข้างเครื่องบิน ซึ่งจากการตรวจสอบเพิ่มเติมยังพบว่าเครื่องบินลำดังกล่าวไม่มีปีกด้วยเช่นเดียวกัน
โดยทางแอร์อินเดียได้ออกมาแถลงการต่อเหตุครั้งนี้ว่า เครื่องบินที่เห็นคลิปเป็นซากเครื่องบินที่ปลดประจำการแล้วของแอร์ อินเดีย และถูกขายออกไปแล้ว โดยเครื่องบินลำดีงกล่าวถูกขนย้ายโดยเจ้าของใหม่และทางแอร์อินเดียไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ครั้งนี้
ขณะที่เจ้าหน้าที่ในสนามบินเดลีได้ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นว่า เครื่องบินลำดังกล่าวไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของฝูงบินในสนามบินเดลี และคาดว่าคนขับน่าจะทำผิดพลาดขณะเครื่องย้ายซากเครื่องบินดังกล่าว
ผู้เปิดโปงข้อมูล เผย Facebook สนับสนุน Hate Speech เพื่อผลกำไรของบริษัท
ผู้เปิดเผยข้อมูลเอกสารของ Facebook นั้น ได้ทำการเปิดเผยเพิ่มเติมว่าบริษัทให้การสนับสนุนหรือละเลย Hate Speech เพื่อผลกำไรของบริษัท เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้มีการเปิดเผยเอกสารภายในของบริษัท Facebook ให้แก่สำนักข่าว Wall Street Journal ที่ซึ่งได้มีการนำเสนอข่าวไป และเผยให้เห็นถึงรายละเอียดในการทำงาน – บริหารจัดการภายในของบริษัท หนึ่งในประเด็นที่น่าสนใจที่สุดก็คงเป็นการที่บริษัทน้อมรับ algorithms ที่จะส่งเสริมการใช้งาน Hate Speech บนแพลตฟอร์ม
Frances Haugen อดีตผู้จัดการแผนกผลิตภัณฑ์ (ตามข้อมูลที่เคยลงไว้บน LinkedIn) และเคยทำงานในกลุ่มงานด้านความซื่อสัตย์ต่อสังคมของ Facebook โดยเธอนั้นได้ลาออกจากบริษัท เมื่อปี 2021 โดยเธอได้กล่าวถึงการตัดสินใจดังกล่าวว่า เธอไม่เชื่อใจว่าบริษัทนั้นจะยอมลงทุนในสิ่งเหมาะสมต่อการป้องกันไม่ให้ Facebook นั้นเป็นพื้นที่ที่อันตราย
หลังจากการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว เธอตัดสินใจปล่อยข้อมูลภายในด้านการวิจัยให้แก่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐอเมริกา โดยหวังว่าจะเกิดการพลักดันให้ออกข้อบังคับเพื่อควบคุมการกระทำของบริษัท ซึ่งจากประสบการณ์การทำงานของเธอแล้วนั้น Facebook ถือว่าแย่ที่สุด เนื่องจากความต้องการของบริษัทในการสร้างผลประโยชน์จากสวัสดิการของผู้ใช้งานแพลตฟอร์ม
Haugen กล่าวว่า “บ่อยครั้งที่มันจะมีความขัดแย้งต้องให้เลือกระหว่างสิ่งที่สุดต่อสังคม กับสิ่งที่ดีที่สุดต่อบริษัท ซึ่ง Facebook นั้นมักจะเลือกอย่างหลังอยู่ในหลาย ๆ ครั้ง”
หนึ่งในปัญหาที่ว่านี้ก็คือเรื่องการใช้ถ้อยคำที่ส่งเสริม หรือสนับสนุนให้เกิดการเกลียดชัง หรือ Hate Speech ถึงแม้ว่า FB เองออกมาบอกว่าบริษัทนั้นได้มีการดำเนินการเพื่อแก้ไข หรือจัดการกับปัญหาดังกล่าวนี้ แต่เอกสารของ Haugen ได้บอกเล่าเรื่องราวอีกอย่างหนึ่ง โดยมีเนื้อความว่า “พวกเราประมาณการณ์ว่าพวกเรานั้นจะลงมือจัดการเพียงแค่ 3-5% ของความเกลียดชัง และประมาณ 0.6% ของความรุนแรงและการยุยงที่เกิดขึ้นบนแพลตฟอร์ม ถึงแม้ว่าแพลตฟอร์มของเรานั้นจะเป็นแหล่งที่พบสิ่งเหล่านี้มากที่สุดในโลกก็ตาม”
ข้อมูลอีกส่วนหนึ่งก็ได้เปิดเผยว่า “พวกเรามีหลักฐานจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่บ่งชี้ว่า Hate Speech, ถ้อยคำที่ส่งเสริมการแบ่งแยกทางการเมือง และการปล่อยข่าวปลอมบนแพลตฟอร์มนั้นส่งผลกระทบไปทั่วโลก”
Haugen กล่าวอ้างว่า ต้นตอของปัญหาดังกล่าวนั้นมาจาก algorithms ที่ได้ปล่อยออกมาเมื่อปี 2018 ที่จะทำการกำกับควบคุมสิ่งที่คุณจะเห็นบนแพลตฟอร์ม และมันนั้นออกแบบมาเพื่อกระตุ้นให้มีการปฏิสัมพันธ์ ซึ่งพบว่าสิ่งที่ทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ที่ดีที่สุดนั้นคือสิ่งที่ก่อให้เกิดความหวาดกลัว และความเกลียดชัง “มันถือว่าง่ายที่สุดในการจูงใจให้ผู้คนโกรธแค้นมากกว่าอารมณ์อื่น ๆ”
เครดิต : รีวิวซีรี่ย์เกาหลี | ลายสัก | รีวิวร้านอาหาร | โทรศัพท์มือถือ ราคาถูก | เรื่องย่อหนัง